top of page
Home

Purpose

             การหาแนวดนตรีและรูปแบบของวงดนตรีที่เล่นในพื้นที่สาธารณะซึ่งไม่ใช่เล่นเพลงแนวป๊อปที่เป็นฟอร์มกีตาร์ นักร้องหรือเป็นวงแจ๊ส อย่างเช่น เบส แซ็กโซโฟน แต่เป็นการผสมผสานระหว่างเครื่องสาย String Quartet

 

ที่ปกติคนจะมองในมุมมองของการเล่นแต่ดนตรีคลาสสิคมาเล่นในรูปแบบที่ไม่ได้เป็นดนตรีคลาสสิคแต่เป็นเพลงป๊อปหรือเป็นเพลงที่ฟังง่ายสบายหูทำให้สามารถเข้าถึงคนฟังได้ง่ายขึ้นและรูปแบบของวงกับแนวดนตรีมีผลต่อบรรยากาศในพื้นที่นั้นๆมากน้อยแค่ไหนจึงได้เริ่มศึกษาที่มาของวง String Quartet และเทคนิคต่างๆที่สามารถนำมาใช้ได้

String Quartet

String Quartet

              String Quartet ประกอบด้วยเครื่องสาย 4 ชนิดได้แก่ Violin I, Violin II, Viola, Cello ซึ่งในบทเพลงส่วนมากจะประกอบจำนวน Movement คือ 3 Movement หรือ 4 Movement ซึ่งโครงสร้างจะคล้ายกับพวก Symphony โดย Violin I จะคอยเล่น Melody lines ในเร้นจเสียงที่สูงหรือทำนองหลัก Violin II จะเล่น Harmony ในเร้นจเสียงที่ต่ำลงมาหรือเล่นเป็น Counter Melody และ Viola กับ Cello จะคอยเดิน Bass และเติมส่วนที่หายไปให้กับวง Quartet ทำให้วง String Quartets บรรเลงออกมาได้คล้ายและใกล้เคียงกับ Orchestra มากและมองว่าจุดเริ่มต้นของ String Quartet นั้นมีรากฐานมาจากยุค Baroque Trio Sonata ที่ใช้เครื่องดนตรี Solo สองชิ้นแสดงคู่กับ Basso Continuo ที่ต้องใช้ Bass เดินอย่างเช่น Cello หรือ Keyboard

           ในอีกคนบางกลุ่มจะมองว่า String quartets นั้นแตกต่างจากวง Orchestra มากเพราะเครื่องสายทั้ง 4 จะต้องเล่น Solo ท่วงทำนองที่ต่างกันและในบางทีที่จังหวะก็ต่างกันซึ่งเป็นการยากที่จะต้องทำให้เครื่องทั้ง 4 ที่เล่นทำนองและจังหวะต่างกันสามารถรวมกันได้ออกมาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยประสาน Harmony ในแต่ละ Parts ของตนเอง

What is a String Quartet ?
       by Kronos Quartet

History of String Quartet

History of String Quartet

             String quartets ได้ริเริ่มขึ้นมาในช่วงของยุค Classic ในขณะนั้น Composer ได้เพ่งเล็งเห็นถึงเรื่อง Balance ของวงและ Minimalism ซึ่งนักดรตรี Quartet นั้นสามารถทำให้แสดง    อารมณ์นั้นๆของแต่ละบุคคลออกมาได้ชัดเจนและเป็นการรวมวงที่ไม่ต้องมี Conductor

 

             Franz Joseph Haydn (1732-1809) ได้ถูกขนานนามว่า “Father of the String Quartet” หรืออีกชื่อว่า “Papa Haydn” ได้เป็นผู้สร้างสรรค์และพัฒนาผลงานของวง String Quartet ในมุมมองที่หลากหลายและแปลกไปจากเดิมเป็นคนแรก

          เรื่องนี้เกิดขึ้นโดยบังเอิญในขณะที่ Haydn อายุได้ 18 ปีนั้นได้ทำงานให้กับ Baron Carl von Joseph Edler von Furnberg ในช่วงประมาณปี 1755-1757 ที่ประเทศ Weinzierl ขณะนั้นเอง Baron ต้องการที่จะฟังดนตรีจึงได้บอก Haydn ตอนนั้น Haydn ได้มองนักดนตรีที่มีในขณะนั้นได้แก่ คนใช้ของ Baron 2 คนตัว Haydn เองแล้วนักดรตรีอีกคน Albrechtsberger ซึ่งทั้ง 4 คนรวมแล้วได้ออกมาเป็น 2 Violinist,Violist,Cellist พอดี Haydn จึงได้ทำตามคำสั่งของ Baron และได้สร้างผลงาน String Quartet ชิ้นแรกขึ้นมา ณ ตอนนั้นเป็น Opus1,Number 1-6 เป็น First String Quartet ใช้รูปแบบเป็นรากฐานอันเดียวกันและย่อยออกไปได้มีทั้งหมด 5 Movement ได้แก่ Presto , Minuetto , Adagio , Minuetto , Finale : Presto

          ผลงานหลังจากนั้นของเค้า 18 Quartets of Opuses 9,17 และ 20 ได้ถูกเขียนในระหว่างปี 1769 และ 1772 และได้ถูกปรับอยู่ในรูปแบบใหม่ซึ่งจำนวน Movement จะประกอบด้วย 4 Movement : Fast Movement , Slow Movement , Minuet and Trio และ Fast Finale ซึ่งในรูปแบบนี้ได้ถูกยอมรับและกลายมาเป็นรูปแบบมาตรฐานของวง String Quartets ทั่วโลก และจากผลงานของ Haydn นั้นได้สร้างชื่อเสียงให้กับตัวเค้าเองเป็นอย่างมากผลงานของเค้าได้ดึงดูด Composer ที่มีความสามารถมากมายหลายคนรวมไปถึง Wolfgang Amadeus Mozart และ Ludwig van Beethoven ซึ่งในขณะนั้นราวๆปี 1780 Mozart ได้มาพบกับ Haydn และทำให้ Mozart ซาบซึ่งและประทับใจในผลงานของ Haydn เป็นอย่างมากและได้เริ่มลงมือเขียน Quartet ของตัวเองออกมาหลายบทและทั้งสองก็ได้เล่น Impromptu String Quartet ด้วยกันโดยที่ Haydn เล่น First Violin และ Mozart เล่น Viola หลังจากนั้น Mozart ก็ยังคงแต่ง String quartet ออกมาอีก 23 บทจนกระทั่งในปี 1785 Mozart ได้อุทิศ Collection of Six Quartets เพื่อเป็นการแสดงความเคารพและนับถือ Haydn

          ในช่วงปลายปี 1780 Haydn และ Beethoven ได้มีโอกาสทำงานด้วยกัน Beethoven สนใจใน String Quartet จึงได้แต่ง Quartet บทแรกขึ้นมาคืิอ Opus 18 Number 3 in D Major ในปี 1798 หลังจากนั้น Beethoven ได้พัฒนาการประพันธ์ของเค้ามากขึ้นไปอีกได้มีการนำเสนอการแต่ง Harmony และการจัดวางในรูปแบบใหม่ๆ Quartets ของเค้าทั้ง 16 บทนั้นได้ถูกยอมรับจากนักดนตรีบางคนว่าเป็น Quartets ที่ดีที่สุด

ในช่วงยุค Classic นั้น String Quartets ได้ถือว่าเป็นผลงานที่โชว์ความสามารถของนักประพันธ์เป็นอย่างมากเพราะผู้แต่งจำเป็นจะต้องแต่งให้กับเครื่องดนตรีที่มีแนวเสียงเป็นเครื่องสายที่มีโทนเสียงใกล้เคียงกันและต้องแต่งให้ในเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นมีแนวเล่นที่ต่างกันโดยที่จะต้องดึงจุดเด่นของแต่ละแนวออกมาให้ผสมผสานกัน ในกลุ่มของ Chamber music ในยุคนั้น String Quartet ได้ถูกมองเป็นที่นิยมอย่างมาก และเสียงของเครื่องสายนั้นยังถูกจัดเป็นเครื่องที่ใกล้เคียงกับเสียงร้องของมนุษย์อีกด้วย

          ในช่วงศัตวรรษที่ 19 String quartet ได้สูญเสียความเป็นที่นิยมลงไป เพราะในช่วงศตวรรษที่ 19 นั้นผู้ประพันธ์ได้นำดนตรีรูปแบบใหม่การเรียบเรียงและเทคนิคต่างๆเข้ามา Sting Quartetsได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาในช่วงของ Arnold Schoenberg , Bela Bartok และ Dmitri Shostakovich ผู้เป็นนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก

          ปัจจุบัน String Quartet ยังได้มีบทบาทในช่วงศตวรรษที่ 20 และ 21 ด้วยโดยใช้เป็นบทเพลงจำพวก Air on the G ของ J.S.Bach, Canon in D ของ J.Pachelbel และบทเพลงจำพวก Four Season ของ A.Vivaldi เพลงพวกนี้จัดเป็นเพลงที่ Popular มากที่ถูกนำมาใช้เล่นใน String Quartet ได้อีกด้วย

Development of String Quartet

Development of String Quatet

             บทบาทของดนตรีในยุค Baroque หรือ ศตวรรษที่ 17 นั้นส่วนมากจะเป็นดนตรีทีถูกใช้เล่นในโบสถ์ซะส่วนใหญ่และเป็นดนตรีที่ถูกเล่นให้กับคนในวัง ในกลุ่มชนชั้นสูงอย่างเดียวเท่านั้นแต่ภายหลังในยุค Baroque ได้มีการนำดนตรีออกสู่สังคมมากขึ้นมีการสร้าง Opera House ขึ้นทำให้กลายเป็น Venice กลายเป็นศูนย์กลางทางด้านดนตรีในยุคนั้น

บทเพลงในช่วงศตวรรษที่ 17 รูปแบบฟอร์มวงก่อนที่จะถูกพัฒนามาเป็น String Quartet 

A. Corelli: Trio Sonata u d-minor, op.3 no.5

Georg Friedrich Händel. Sonata for 2 violins & continuo in G minor, Op.2 No.8, HWV 393

J.S. Bach-Sonata in C Major for 2 violins and harpsichord BWV 1037

             บทบาทของดนตรีในยุค Classic หรือช่วงศตวรรษที่ 18 หลังจากได้มีการนำดนตรีออกสู่สังมากขึ้นแล้วในช่วงนี้แทนที่จะมีแต่ดนตรีที่เล่นในวังให้ชนชั้นสูงดูและในโบสถ์ดนตรีได้ก้าวเข้ามาถึงมุมมองของชนชั้นกลางมากขึ้นนักประพันธ์ได้พยายามแต่งดนตรีที่เข้าหาคนได้มากขึ้นมากกว่าที่แค่จะเล่นประกอบบันเทิงในงานเลี้ยงหรือเพลงในโบสถ์และในกลุ่มของชนชั้นกลางนั้นก็ได้มีการจ้างนักประพันธ์และนักดนตรีเพื่อจัดคอนเสิตร์ทั้งส่วนตัวและคอนเสิตร์สาธารณะเพื่อฟังกันอย่างจริงจังมากขึ้น

บทเพลงในช่วงศตวรรษที่ 18 หลังจากที่ค้นพบ String Quartet

J. Haydn - Hob III:1 - String Quartet Op. 1 No. 1 in B flat major

W. A. Mozart - KV 464 - String Quartet No. 18 in A major

           Op. 10 No. 5 ที่แต่งอุทิศให้กับ Joseph Haydn 

Ludwig van Beethoven - String Quartet No. 16, Op. 135

             บทบาทของดนตรียุค Romantic หรือช่วงศตวรรษ 19-20 นั้นหลังจากดนตรีได้มีบทบาทในสังคมมากขึ้นมากกว่าที่จะแค่ใช้ประกอบตามงานเลี้ยงหรือให้คนในวังฟังคนจึงหันมานั่งฟังดนตรีกันอย่างจริงจังมีทั้งการแต่งเพลงและฟอร์มวงใหม่ๆขึ้นมาและเหมือนกับเป็นการประชันกันระหว่างนักประพันธ์หลายคนที่จะสื่อความหมายและอารมณ์ของตนเองออกมาในบทประพันธ์นั้นๆ

บทเพลงในยุคศตวรรษที่ 19 เป็นช่วงที่ String Quartet ได้รับความนิยมน้อยลงจนถึงในช่วงศตวรรษที่ 20 ได้บูมกลับขึ้นมาใหม่อีกครั้ง

Arnold Schoenberg - String Quartet No. 4

Dmitri Shostakovich - String Quartet No. 8

Béla Bartók - String Quartet No. 2

             บทบาทของดนตรีในยุคปัจจุบันหรือศตวรรษที่ 21 มีหลายรูปแบบมากในการนำเสนอผลงานของวง String Quartet มีทั้งการเล่นแต่งเพลงอัดลงสื่อต่างๆเพื่อโฆษณาผลงานของตัวเองมีทั้งวงที่ยังนำเพลงของนักประพันธ์ในยุคก่อนๆมาเล่นในแบบเดิมหรือการทำอาเร้นจใหม่เพื่อให้มีสีสันที่ต่างออกไปมากขึ้นเข้าถึงคนที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยให้ได้ฟังง่ายขึ้นหรือแม้แต่การนำเพลงของในสมัยนั้นๆอาจจะเช่นเพลงแนว ป๊อป แจ๊ส ต่างๆมาการทำอาเร้นจในรูปแบบของ String Quartet เพื่อให้คนฟังฟังง่ายขึ้นแล้วเข้าใจมากขึ้น

String quartet ในช่วงยุคศตววรรษที่ 21

Kronos Quartet: NPR Music Tiny Desk Concert

A.Vivaldi - Spring from The Four Seasons: Wedding String Quartet 

Radiohead- Creep cover

String Techniques

String Techniques

Pizzicato

  • เป็นเทคนิคของสตริงอย่างนึงแทนที่ปกติไวโอลินจะสีแต่เปลี่ยนเป็นดีดแทนซึ่งจะเห็นมากๆในช่วงยุคศตวรรษที่ 20 ให้ใช้เนื้อตรงนิ้วดีดเพื่อทำให้เพลงมีความหลากหลายมากขึ้น แล้วในเทคนิค Pizzicato นั้นยังสามารถให้นักดนตรีดีดมากกว่าโน๊ตตัวเดียวได้เช่น ดีดโน๊ตเป็น Chord หรือ เป็นโน๊ต 2 ตัวและ 3 ตัว

Fingernail Pizzicato

  • เป็นการดีดอีกอย่างนึงบนเครื่องสายแต่แทนที่จะใช้สว่นเนื้อของนิ้วในการดีดเปลี่ยนเป็นการตั้งนิ้วขึ้นแล้วใช้เล็บในการเคาะหรือตีดีดลงไปบนสายนั่นเอง

Bartok Pizzicato

  • เป็นเทคนิคดีดอีกอย่างนึงแต่จะใช้วิธีคือการดึงสายขึ้นมาจนสุดแล้วปล่อยให้สายกระแทกกับฟิงเกอร์บอร์ดอย่างแรงเพื่อจะให้ได้ซาวของฟิงเกอร์บอร์ด้วยจะดุดันกว่า

Vibrato and Non Vibrato

  • ในช่วงยุคหลังๆการเล่นส่วนใหญ่ในยุคปัจจุบันคนส่วนมากจะพยายามหลีกเลี่ยงการใช้ Open string หรือการสีปล่อยสายเปล่า เพราะการสีสายเปล่าจะทำให้มีโทนเสียงที่ต่างออกไปนวมถึงการที่ใช้นิ้วกดเสียงโน๊ตตัวเดียวกันกับสายเปล่าในสายถัดไปแล้วเล่นสายเปล่าจะทำให้มีเสียงที่ต่างกันออกไปโดยไม่จำเป็นต้อง Vibrato

Tremolo

  • คือการสีเร็วๆโดยใช้ส่วนของช่วงปลายโบถึงกลางโบ ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับ Dynamic ของเพลงด้วยว่าถ้าเบาก็จะใช้โบน้อยลงและใช้แค่ช่วงปลายโบถ้าดังขึ้นก็จะใช้โบให้มากขึ้นแต่จะใช้อยู่ในแค่ช่วงกลางถึงปลายโบ

Sul tasto  

  • คือให้เครื่องสายเล่นใกล้ Finger Board มากขึ้นซึ่งจะทำให้เกิดเสียงเบาและกลืนกับวงมากขึ้นส่วนมากจะใช้ในการเล่นวง Orchestra ที่ต้องเล่นหลายๆคนแล้วต้องการที่จะจะได้ยินและไม่กลบทำนองหลักหรือแค่ในบางกรณีที่ผู้แต่งต้องการเพราะมันจะเสียงแหบๆและฟังไม่ชัดเจนเท่าไหร่

Sul ponticello 

  • คือการให้เครื่องสายเล่นใกล้กับ Bridge(หย่อง)เพื่อที่จะทำให้เกิดเสียงที่หยาบและสากกว่าการเล่นในจุดปกติหรือที่เรียกว่า Sounding Point

Col legno

  • เป็นเทคนิคที่จะเริ่มเห็นและใช้บ่อยในยุคศตวรรษที่ 20โดยการใช้ส่วนไม้ของโบตีลงไปที่สายแทนที่จะใช้การสีแบบปกติ

Sul G

  • เป็นอีกวิธีนึงที่มักจะเห็นในช่วงยุค ศตวรรษที่ 19 ขึ้นไปโดยการให้เล่นโน๊ตสูงๆด้วยสาย G เพียงสายเดียวซึ่งเป็นสายที่ต่ำสุดบน Violin ทำให้มีซาวที่หนามากขึ้นใช้สำหรับบางทีในช่วงที่จำเป็นต้องเล่นไลน์ Melody

Natural harmonics

  • เป็นโน๊ตที่อยู่บนเครื่องสายของ Strings ที่จะสั่นเวลาเล่นและเราใช้นิ้วไปแตะไว้เบาๆแทนที่จะกดลงไปซึ่งจุดที่จะทำให้เกิดฮาร์โมนิคนั้นขึ้นความยาวครึ่งนึงของสายนั้นและแบ่งเป็นครึ่งๆลงมาเท่ากันไปเรื่อยซึ่งจะให้เสียงโน๊ตที่สูงขึ้นไปอีก

False harmonics

  • ในส่วนของ Natural harmonic จะเกิดจากแตะสายเปล่าๆด้วยนิ้วเดียวแต่ในส่วนของ False harmonic จะเกิดจากการที่เราเอานิ้วไปกดใน Pitch ที่เราต้องการนั้นและใช้นิ้ว 4 แตะลงไปเบาๆเป็นคู่ 4 Perfect แทนซึ่งจะได้ยินเสียงเป็นโน๊ตนั้นๆใน Octave ที่สูงกว่าขึ้นไปอีก

Glissando

  • คือการที่เล่นโน๊ตแล้วสไลด์โน๊ตนั้นๆอย่างรวดเร็วให้เกิดเป็นเหมือนเสียง Effect รูดๆ

The Fingertips

  • ใช้นิ้วมือขวาตบลงไปบนสายบน Finger board ไม่ว่าจะต้องการแบบมี Pitch หรือ Non-Pitch และ Composer จะกำหนดเขียนว่าต้องการให้สายมันดังออกหรือไม่ และ Composer จะคอยเป็นคนเขียนว่าจะให้ตบ 4 สายพร้อมกันหรือเป็นสายๆไปเทคนิคนี้ถูกค้นพบโดย Kezysztof Penderecki

The Knuckles

  • คือการใช้ตรงข้อนิ้วเขกลงไปที่ปกติก็ใช้ในการเคาะประตูหรืออะไรอยู่แล้วอันนี้แค่เปลี่ยนมาเคาะบนไวโอลินแทน A right hand knock ถูกเขียนขึ้นโดย David Cope’s(b 1941)Angels Camp II

The Palm

  • คือการใช้อุ้งมือฝ่ามือแทนเหมือนไม้เอาไว้เคาะบนไวโอลินซึ่งจะให้เสียงที่ดังและจะส่งผลกระทบกับไวโอลินได้น้อยกว่าด้วยเพราะการใช้อุ้งมือนั้นไม่ได้เน้นไปที่จุดใดจุดนึงบนไวโอลินเวลาเคาะมากเกินไป

Harmonic Glissando

  • วิธีน้จะคล้ายๆกับ Glissando แต่เปลี่ยนเป็นการเล่น Harmonic แทนซึ่งจะมี 2 วิธีคือเป็น Open Harmonic ก็คือการแต่สายตรงจุด Harmonic แล้วรูดสายขึ้นลงๆ ส่วนอีกวิธีคือการใช้ False Harmonic ซึ่งก็คือการใช้นิ้ว 1 กดในเสียงที่เราต้องการแล้วใช้นิ้ว 4 แตะให้เป็นคู่ 4 เพอเฟคจะได้เสียงนั้นสูงชขึ้นไปอีก Octave แล้วก็รูขึ้นลงเหมือนกัน

Fawcetts

  • เทคนิคนี้ถูกใช้ครั้งแรกโดย Mathias Spahlinger วิธีนี้คือการใช้นิ้ว 3 แตะไปที่สายเปล่า Harmonic อย่างเช่นถ้าบนสาย G ก็คือแตะโน๊ตตัว C ไว้แล้วใช้นิ้วหนึ่งแตะเหมือนกันซึ่งนิ่วหนึ่งนั้นสามารถรูดไปรูดมาเพื่อให้ได้เสียงที่แตกต่างออกไปได้แตะยังแตะนิ้ว 3 ไว้ที่เดิม

Arrangement

Arrangement

Misty -
00:00
Gold -
00:00
Date -
00:00

Videos

My Recital

Videos
bottom of page